ประวัตภาคใต้


ประวัติของภาคใต้


      ตามหลักฐานทางโบราณคดีได้ระบุว่าแหลมมลายูเป็นศูนย์กลางการค้าขายมานาน และมีเมืองที่เจริญรุ่งเรืองหลายแห่ง เช่น ตักโกละ ลังกาสุกะ พานพาน ตามพรลิงค์ และศรีวิชัย อาณาจักรศรีวิชัย มีราชธานีอยู่ในเกาะสุมาตรา (ในปัจจุบัน) เป็นอาณาจักรแรกที่มีเรื่องราวเกี่ยวพันกับดินแดนในแหลม มลายู โดยมีประเทศราชบนแหลมลายูหลายประเทศ คือ ปาหัง ตรังกานู กลันตัน ตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) ครหิ (ไชยา) ลังกาสุกะ (อยู่ในประเทศมาเลเซีย) เกตะ (ไทรบุรี) กราตักโกลา (ตะกั่วป่า) และปันพาลา (อยู่ในประเทศพม่า) พลเมืองนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ซึ่งได้เผยแผ่มาในดินแดนแถบนี้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 



         ภายหลังที่อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง เมืองตามพรลิงค์ ได้แยกตนเป็นอิสระโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่แคว้นนครศรี ธรรมราช มีอำนาจปกครองเมืองต่าง ๆ ได้แก่ สายบุรี ปัตตานี กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี พัทลุง ตรัง ชุมพร บันไทสมอ สงขลา ตะกั่วป่า ถลาง และกระบุรี 



            ต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยอ้างสิทธิคุ้มครองเหนือรัฐมลายูทั้ง คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และ ปะลิส โดยใช้วิธีปกครองแบบเมืองประเทศราช ให้สุลต่าน ของแต่ละรัฐ ปกครองกันเอง แต่จะต้องส่งบรรณาการ มาถวายพระมหากษัตริย์ไทย ตามกำหนดเวลา ปีต่อครั้ง ฝ่ายไทย มีอำนาจ ควบคุมต่างประเทศ และได้ให้ความช่วยเหลือ แก่รัฐเหล่านี้ในกรณีที่ถูกรุกรานจากชาติอื่น รัฐบาลไทยใช้นโยบายออมชอม ปกครองรัฐมลายู และพยายาม กระชับการปกครอง เมื่อมีโอกาส พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอง ได้เสด็จเยือนมลายูหลายครั้ง และพยายาม ยกฐานะหัวเมืองเหล่านั้น เช่น ทรงยกฐานันดร ผู้ครองรัฐไทรบุรี เป็นเจ้าพระยา จัดให้เมืองไทรบุรี ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ แทนที่จะขึ้น กับเมืองนครศรีธรรมราช นอกจากนี้ เมื่อทรงปรับปรุงการปกครอง หัวเมืองจัดตั้ง มณฑลต่างๆ ก็โปรดฯ ให้ยกไทรบุรี ขึ้นเป็นมณฑล เมื่อ พ.ศ.2440 โดยรวมสตูลและปะลิส เข้าไว้ด้วย มีสุลต่าน เป็นข้าหลวงปกครองเอง และทรงใช้หลักจิตวิทยา พยายามให้เจ้าเมืองเหล่านั้น สวามิภักดิ์ต่อไทยมากขึ้น แม้จะปกครองกันเอง 
             ในระยะเวลาก่อน พ.ศ.2443 รัฐบาลอังกฤษ ซึ่งเริ่มเข้ามามีอำนาจ ทางแหลมมลายู ก็ยอมรับ สิทธิของไทย ดังปรากฏ ในสนธิสัญญา ระหว่างไทยและอังกฤษหลายฉบับ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ.2369ปฏิญญาลับ พ.ศ.2440 และข้อตกลง ปักปันเขตแดน พ.ศ.2442 อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่า ได้เกิดการโต้แย้งขึ้น ในบรรดาข้าราชการอังกฤษ ในมลายู และข้าราชการอังกฤษ ที่กรุงลอนดอน เกี่ยวกับสิทธิของไทย เหนือดินแดนมลายูอยู่เสมอ ทั้งนี้เพราะ กระทรวงอาณานิคม ของอังกฤษ มีนโยบายจะขยายอำนาจของตน ทางแถบนั้น ในระยะระหว่าง พ.ศ.2404-2423 ได้เกิดกรณีพิพาท ระหว่างรัฐบาลไทย กับรัฐบาลอินเดียของอังกฤษ เรื่องมลายูหลายครั้ง ที่รุนแรงมาก ก็เช่นกรณีเรือรบอังกฤษ ระดมยิงตรังกานู เรื่องวิวาท กรณีเขตแดนเประและรามันห์ และเรื่องการปราบผู้ร้ายข้ามแดน พวกกบฏในปะหัง หนีเข้ามากลันตัน ตรังกานู อังกฤษส่งกำลังเข้ามาปราบ ถึงในเขตไทย แต่เหตุการณ์ต่างๆ สงบลงได้ เพราะกระทรวงการต่างประเทศ ที่กรุงลอนดอน ต้องการคบไทยเป็นมิตร จึงไม่ต้องการละเมิด สิทธิของไทยในมลายู แต่ไทยตระหนักดีว่า สิทธิของไทย เหนือมลายู ยังไม่มีหลักประกันที่แน่นอน 
             การเจรจาทางการทูต ระหว่างไทยกับอังกฤษ อันเป็นผลให้ไทย ต้องสูญเสียดินแดนมลายู รัฐทางใต้ รวมเนื้อที่ 15,000 ตารางไมล์ และประชากรกว่าห้าแสนคนแก่อังกฤษ หลังจากการต่อรองทางการทูตยืดเยื้อมาร่วม ปี
              ในราวต้นปี พ.ศ.2443 เมื่ออังกฤษเริ่มปล่อยท่าที พยายามแผ่นอิทธิพล เข้ามาในรัฐไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู ซึ่งเป็นแหล่ง ที่มีทรัพยากรธรรมชาติมาก โดยเฉพาะแร่ดีบุก ทั้งนี้เพราะอังกฤษ เกรงกลัวอิทธิพลภายนอก คือ บทบาทของฝรั่งเศส ที่ต้องการเข้ามามีอิทธิพล ในแถบนี้บ้าง เริ่มจากกรณีขุดคดคอดกระที่ ฝรั่งเศสเคยส่งคนมาทาบทามรัฐบาลไทย สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอสัมปทานขุดคลองลัด เชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และทะเลจีนใต้ฝ่ายไทย บริเวณอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง แต่ครั้งนั้น ไทยไม่ยอมให้ เพราะเกรงว่า ฝรั่งเศสอาจเข้ามามีบทบาท บังคับเอาดินแดนนั้น เป็นอาณานิคมไปเสีย หรือมิฉะนั้น อังกฤษอาจถือโอกาส ยึดหัวเมืองภาคใต้ไปเลยก็ได้ มาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสได้รื้อฟื้นเรื่องนี้อีก แต่ไทยเพียงอนุญาตให้ทำการสำรวจได้เท่านั้น 
               จากเหตุนี้ อังกฤษจึงรีบฉวยโอกาส เปิดการเจรจากับไทยใน พ.ศ.2444 เรื่องจัดตั้งที่ปรึกษา ประจำกลันตันและตรังกานู โดยอ้างถึงความไม่สงบต่างๆ ในรัฐทั้งสอง ซึ่งเป็นผลเสียหายแก่คนในบังคับของตน รวมทั้งการที่เจ้าผู้ครองรัฐ ให้สัมปททาน แก่คนชาติอื่น โดยไม่ปรึกษาความเห็นชอบ จากอังกฤษ ทั้งๆ ที่มีข้อตกลงกันในปฏิญญาลับ พ.ศ.2440 ไว้แล้ว เช่น การที่พระยากลันตัน ให้ชาวมลายู เช่าเก็บผลประโยชน์ ที่เกาะราดัง อังกฤษเห็นว่า เหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งการแผ่ขยายของ มหาอำนาจอื่น เช่น เยอรมัน จะเป็นอันตราย แก่การปกครองของตน ในแหลมมลายู จึงแนะนำให้ไทย จัดการปกครองตัวเมืองมลายู ให้เรียบร้อย โดยยินดี จะหาผู้ชำนาญงาน มาเป็นที่ปรึกษา ของรัฐมลายูทั้ง ให้

           การเจรจาดำเนินไปเกือบ ปี ไทยต้องประนีประนอม ลงนามให้ข้อตกลง เกี่ยวกับกลันตัน และตรังกานูใน พ.ศ.2445 ตามข้อตกลงไทย จะจัดตั้งที่ปรึกษาของไทย ไปประจำในรัฐเหล่านั้นเอง แต่ต้องได้รับความเห็นชอบ จากอังกฤษก่อน ที่ปรึกษาจะควบคุม กิจการต่างประเทศ และการให้สัมปทาน แก่ชาวต่างประเทศ เช่น นายเกรแฮม ที่ปรึกษาประจำรัฐกลันตัน นายวิลเลียมซัน ที่ปรึกษาทางการคลัง ประจำรัฐตรังกานู ส่วนไทรบุรีนั้น ยังมีหนี้สินค้างอยู่กับไทย ไทยจึงต้องไปจัดการระบบการคลัง ในรัฐนี้ให้เรียบร้อย จะได้มีเงินคืนไทย แต่ที่ปรึกษาการคลัง เป็นข้าราชการอังกฤษจากอินเดีย ภายใต้การควบคุม ของไทยอีกทีหนึ่ง 

         ท่าทีดังกล่าวข้างต้น พิสูจน์ได้ชัดเจนว่า อังกฤษต้องการดินแดนเหล่านั้น โดยเปิดเผย ดังปรากฏว่าครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ.2445 เซอร์ แฟรงค์ สเวทเทนนั่ม (Sir Frank Swettenham) ข้าหลวงใหญ่ ของสหพันธรัฐมลายู ได้ทูลทาบทาม เป็นทำนองว่า อังกฤษต้องการได้ดินแดน หัวเมืองมลายูจากไทย การแสดงออกเช่นนี้ เป็นประหนึ่งสัญญาณเตือน ให้ฝ่ายไทยทราบว่า การเจราขั้นต้นจะไม่ยุติลง เพียงด้วยการจัดตั้งที่ปรึกษา ในกลันตัน ตรังกานู และไทรบุรีเท่านั้น แต่การเจรจาคงต้องดำเนินต่อไป พร้อมกับข้อเรียกร้องของอังกฤษ

    นับจากปี พ.ศ.2444 รัฐบาลไทย ยังเปิดการเจรจากับอังกฤษ เรื่องผ่อนผัน สิทธิสภาพนอกอาณาเขต โดยรัฐบาลไทยขอให้รัฐบาลอังกฤษ เลิกสิทธิพิเศษ ในการถอนคดีของกงสุล ในศาลต่างประเทศ ในภาคเหนือ ตามข้อตกลง ของสัญญาระหว่างไทย กับอังกฤษ พ.ศ.2426 เพื่อแลกกับการยอม ให้คนในบังคับอังกฤษทางภาคนั้น มีสิทธิซื้อขายที่ดิน ซึ่งเดิมซื้อไม่ได้ ในการเจรจาครั้งนี้ ฝ่ายไทย ได้ยืนยันเรียกร้อง เฉพาะคนในบังคับอังกฤษ ที่เป็นชาวยุโรป และชาวเอเชีย ประการหนึ่ง และเพราะข้อแลกเปลี่ยน ที่ชาวอังกฤษยินยอม เลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ได้อีกประการหนึ่ง การเจรจาดังกล่าว จึงยุติลงโดยปราศจากผล หลังจากที่ทั้งสองฝ่าย พยายามต่อรองกัน เป็นเวลา ปี (พ.ศ.2444-2448) 
              พ.ศ.2449 รัฐบาลทั้งสอง เปิดการเจรจาใหม่ ครั้งนี้เป็นเรื่องการสร้างทางรถไฟ กล่าวคือ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐบาลไทย เริ่มดำริสร้างทางรถไฟสายใต้ เพื่อกระชับการปกครอง หัวเมืองภาคใต้ ให้รัดกุมขึ้น เพราะบริเวณนั้น เป็นจุดอันตราย ในอิทธิพลของอังกฤษ จริงอยู่ ทางรถไฟสายนี้ จะเป็นประโยชน์แก่อังกฤษ เพราะอังกฤษ สามารถเรียกร้องเก็บผลประโยชน์ได้มาก ตามข้อตกลงในปฏิญญาลับ พ.ศ.2440 แต่ไทยหวังว่าผลดีอาจมีมากกว่า เพราะถ้ายกเลิกปฏิญญาลับแล้ว ทางรถไฟสายนี้ จะกลับเป็นคุณประโยชน์แก่ไทย ทั้งในการทางเมืองและเศรษฐกิจ 
              ตามความดำริของนายกิตติน เจ้ากรมรถไฟหลวงของไทย ได้เป็นผู้เสนอ ให้สร้างทางรถไฟ ต่อจากเพชรบุรีไปทางใต้ ระยะทาง 530 ไมล์ แต่ในการสร้าง ต้องใช้เงินทุนประมาณ 3,000,000 - 4,000,000 ปอนด์ เดิมจะใช้เงินทุน ของประเทศ แต่เสนาบดีคลัง ทรงคัดค้านว่า เงินไม่พอ จึงวางแผนการ ขอกู้จากต่างประเทศ และประเทศที่ไทย อาจจะเจรจาด้วยได้ คือ รัฐบาลสหพันธรัฐมลายู ของอังกฤษ เพราะขณะนั้น มลายูกำลังวางโครงการหนึ่งปี สร้างทางรถไฟ จากสิงคโปร์ขึ้นมา จดเขตทางเหนือ ต่อกับเขตแดนไทย ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมาก แก่รัฐบาลอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ในการเจรจาขั้นแรก ทั้งสองรัฐบาลตกลงกันไม่ได้ เพราะอังกฤษ ไม่ยอมให้กรมรถไฟหลวงของไทย ดำเนินการ สร้างทางรถไฟเอง ด้วยเหตุผลว่า ข้าราชการ กรมรถไฟหลวง เป็นชาวเยอรมันส่วนใหญ่ และอังกฤษ เกรงกลัวอิทธิพลเยอรมัน จะรุกรานเข้ามา ทางใต้ของไทย 
            การเจรจาทางการทูตดำเนินไปอย่างลุ่มๆ ดอนๆ ร่วม ปี เริ่มคลี่คลายขึ้น เมื่อมีข้อเสนอ ยกดินแดนของไทย ในแหลมมลายู ให้แก่อังกฤษ ผู้ต้นความคิด คือ นายเอดเวิด สโตรเบล ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินชาวอเมริกัน ซึ่งเข้ามา รับราชการในไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2447 ในระยะนั้น ปัญหาต่างๆ ที่คั่งค้างกับอังกฤษ ทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะเรื่องรัฐมลายู จากการศึกษาเหตุการณ์ที่ผ่านมา สโตรเบลเห็นว่าสักวันหนึ่ง อังกฤษคงพยายาม หาวิธีการยึดดินแดนเหล่านี้ ไปจนได้ และเมื่อไทย หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรจะหาประโยชน์ จากการเสียให้คุ้มค่า สโตรเบลไม่เห็นประโยชน์ที่ไทยจะเรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนเหล่านี้ไว้ โดยให้เหตุผลว่า
             "...รัฐบาลสยาม ไม่ได้รับประโยชน์อันใด จากรัฐเหล่านี้ กลับต้องรับผิดชอบ ในการจัดการบริหาร ของรัฐทั้งหลายนั้น และในขณะเดียวกัน ก็ไม่สามารถ ปฏิบัติงาน อย่างมีประสิทธิภาพ ในการควบคุมรัฐเหล่านั้น โดยปราศจาก การแทรกแซงของอังกฤษ ถ้าหากว่าไทย ยอมยกรัฐเหล่านี้ ให้อังกฤษไปแล้ว จะเป็นการตัดปัญหายุ่งยากได้ สถานการณ์ของไทย จะเข้มแข็งขึ้น เพราะไม่ต้องรับผิดชอบ ในดินแดนส่วนที่ไม่ใช่ของไทยอีก การแทรกแซงจากอังกฤษ จะสิ้นสุดลง และไทย จะสามารถปกครองดินแดนส่วนที่เหลือได้ อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น" 
              สโตรเบล พยายามย้ำให้เห็นผลเสีย ของแต่ละรัฐ เป็นต้นว่า ในทางปฏิบัติ กลันตันและตรังกานู ไม่เคยขึ้นอยู่กับราชอาณาจักรไทย อย่างจริงจังเลย แม้ว่าจะทรงเคยแต่งตั้ง ข้าหลวงจากกรุงเทพฯ ไปประจำ เช่น ในปี พ.ศ.2437 ทรงโปรดฯ ให้พระยาทิพย์โกษา เป็นข้าหลวงไปประจำกลันตัน และตรังกานู และแม้ว่า พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงเคยเสด็จเยี่ยมเยียนรัฐเหล่านี้ เป็นการส่วนพระองค์แล้วก็ตาม รัฐบาลไทย ก็ยังไว้ใจสุลต่านได้ยาก ประกอบกับในระยะนั้น รัฐบาลอังกฤษ กำลังต้องการขยายอิทธิพล ขึ้นมาทางตอนเหนือ ของมลายูอีกด้วย เห็นได้จากการตกลงกับไทย แต่งตั้งที่ปรึกษาชาวอังกฤษประจำกลันตัน ในปี พ.ศ.2445 และเซอร์ แฟรงค์ สเวทเทนนั่ม ข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำสิงคโปร์ ก็แสดงท่าทีสนับสนุน สุลต่านอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเมื่อ เซอร์ แฟรงค์ เดินทางไปกลันตัน ใน พ.ศ.2446 และเกลี้ยกล่อมสุลต่าน ให้กระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลไทย โดยยื่นข้อเสนอ ข้อ คือ

  1. ให้กลันตันขึ้นตรงต่ออังกฤษ
  2. ให้สุลต่าน ส่งบรรณาการต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองให้รัฐบาลอังกฤษ ปีต่อครั้ง
  3. รัฐบาลอังกฤษจะยอมให้กลันตันมีสิทธิปกครองตนเอง และ
  4. อังกฤษจะยินยอมให้สุลต่านปกครองตามศาสนาและประเพณีอิสลาม
             แม้ว่าสุลต่านกลันตัน ไม่เห็นดีด้วยในเวลานั้น เพราะเคยเป็นตัวอย่าง จากรัฐเประและรัฐปะหัง ว่า อังกฤษเข้าไปยุ่งเกี่ยว กับการเมืองภายใน ของรัฐทั้งสอง เซอร์ แฟรงค์ ก็สามารถชักจูงให้สุลต่านเปลี่ยนธงประจำรัฐ จากธงช้างของไทย ที่กลันตันเคยใช้อยู่ มาใช้ธงสีแดงแทน นอกเหนือไปจากการก้าวก่ายอำนาจ ของข้าหลวงอังกฤษ ประจำสิงคโปร์แล้ว บริษัทดัฟฟ์ ในกลันตัน ซึ่งคนอังกฤษ ได้สัมปทานเหมืองแร่ และดำเนินกิจการ เป็นผลประโยชน์ของอังกฤษอยู่ในรัฐนั้น มักมีเรื่องขัดแย้งผลประโยชน์ กับที่ปรึกษาสุลต่านอยู่ตลอดเวลา ทำให้เป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนา และการควบคุมกิจการ ของรัฐเป็นอย่างมาก ในรัฐตรังกานูก็เช่นเดียวกัน สุลต่านตรังกานู ไม่เคยยอมรับว่า รัฐบาลของตนอยู่ใต้อารักขาไทย เช่น ในปี พ.ศ.2445 เมื่ออังกฤษกับไทย ตกลงกันว่า จะส่งที่ปรึกษาชาวอังกฤษ ไปประจำตรังกานู สุลต่านตรังกานู ไม่ยอมรับรู้การกระทำใดๆ ทั้งสิ้น และทางฝ่ายไทยเอง ไม่มีหนทาง หรืออำนาจไปบังคับสุลต่าน ให้ปฏิบัติตามได้ ที่ปรึกษาที่ไทยแต่งตั้งไป ต้องเดินทางกลับกรุงเทพฯ

   สำหรับไทรบุรีนั้น พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพยายามดำเนินนโยบาย การปรับปรุงการปกครองในปี พ.ศ. 2440 ได้ทรงยกฐานะขึ้นเป็น มณฑลเทศาภิบาล ดังที่กล่าวแล้ว แต่ทางฝ่ายไทย ไม่สามารถจัดการปกครอง ให้มีประสิทธิภาพ เช่นหัวเมืองไทยอื่นๆ ได้ เพราะขาดกำลังคน ที่มีความสามารถ ไปจัดการปกครอง และขาดทุนทรัพย์ ในการพัฒนา นักปกครองที่เก่งๆ เช่น พระยาสุขุมนัยวินิต เทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราชมีน้อย ข้าราชการส่วนใหญ่ พูดภาษามลายูไม่ได้ และไม่เข้าใจขนบธรรมเนียมศาสนาอิสลาม จึงเกิดการขัดแย้งกันขึ้นเสมอๆ ใน พ.ศ.2448 รัฐบาลไทยแต่งตั้งให้นายฮาร์ท (Hart) เป็นที่ปรึกษาทางการคลัง ประจำไทรบุรี แต่ทำงานเข้ากับพื้นเมืองมลายูไม่ได้เลย และถูกกงสุลอังกฤษ ซึ่งประจำอยู่ที่ไทรบุรีเวลานั้น เขียนรายงาน ฟ้องเข้ามาเสมอๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่รายามุดา รัชทายาทของสุลต่านถึงอาสัญกรรมลงในปี พ.ศ.2449 เหตุการณ์กลับเลวร้ายลง เพราะสุลต่าน ประสงค์จะรวบอำนาจ เอาไว้เอง และพยายามลดอำนาจที่ปรึกษาลง 

               จากสถานการณ์ ที่ไม่น่าไว้วางใจ เรื่องบริษัทดัฟฟ์ ในกลันตัน เหตุการณ์ในไทรบุรี หลังอาสัญกรรม ของรายามุดา และท่าทีแข็งกร้าว ปราศจากความเป็นมิตร ของสุลต่านตรังกานู ทำให้สโตรเบล มีความคิดเห็นว่าเมืองไทย ไม่ควรเสียเวลา หาหนทางปกครอง ดินแดนเหล่านี้ ถ้าเมืองไทยยอมทิ้งดินแดนนี้เสีย อาจจะช่วยให้การปกครองเมืองอื่นๆ ทางใต้ มีประสิทธิภาพ และรัดกุมยิ่งขึ้น นายสเวทการ์ด ชาวอเมริกันอีกผู้หนึ่ง ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ช่วย ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ได้เดินทางไปดูงานปกครอง หัวเมืองปักษ์ใต้ ในระยะเวลานั้น เห็นพ้องต้องกันกับสโตรเบลว่า ถึงเวลาแล้ว ที่ไทยควรจะปลดเปลื้องภาระการปกครอง หัวเมืองมลายูเสีย

             ก่อนเปิดการเจรจากับอังกฤษ สโตรเบล ปรึกษากับนายแพชยิต ราชทูตอังกฤษ ประจำกรุงเทพฯ อย่างใกล้ชิด แต่ยังไม่อาจดำเนินการได้ เพราะขณะนั้น พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สองอยู่ จะปรึกษาเฉพาะกับกรมหลวงเทวะงวศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ หรือกรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยก็ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องใหญ่ของบ้านเมือง ต้องรอพระราชวินิจฉัย และพระบรมราชโองการ จากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยตรง นอกจากนี้ สโตรเบลยังรู้สึกลังเล ที่จะแนะนำให้รัฐบาลไทย ตกลงยกดินแดนของรัฐมลายู ให้แก่อังกฤษ เพราะวิตกว่า รัฐบาลไทย อาจจะไม่ยอมเสียดินแดน เพราะไม่แน่ใจว่า จะได้ผลประโยชน์ตอบแทนที่สมควร อย่างไรก็ตาม สโตรเบลรู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของตน ที่จะต้องตรวจพิจารณาดู อย่างถี่ถ้วนว่า ได้หรือเสียประโยชน์เท่าใด ดังปรากฏในบันทึกส่วนตัวว่า 
              "...โดยหน้าที่ ข้าเจ้าไม่อาจเสมอเรื่องราวใดๆ จนกว่าข้าพเจ้าจะแน่ใจว่าจะต้องสำเร็จ" 
              สโตรเบล รออยู่จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จนิวัติพระนครใน พ.ศ.2450 จึงนำเรื่องราวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเสนอความคิดเห็น ในการทำสนธิสัญญาครั้งใหม่นี้ พร้อมทั้งเหตุและผลต่างๆ และอ้างถึงสนธิสัญญา ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส พ.ศ.2449 ซึ่งฝรั่งเศส ยอมผ่อนผันเรื่องสิทธิสภาพ นอกอาณาเขต โดยยอมให้คนในบังคับฝรั่งเศส ที่เป็นชาวเอเชีย ทั่วราชอาณาจักรไทย ขึ้นตรงต่อศาลไทย เพื่อแลกกับดินแดนเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ สโตรเบล ต้องการให้ไทย แลกดินแดนมลายู กับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เหนือคนในบังคับอังกฤษ 
               สโตรเบลกราบบังคมทูลเสนอ ให้ยกดินแดนเพียง เมืองเท่านั้น คือ ไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู โดยชี้แจงให้พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และบรรดาเสนาบดีเห็นว่า การยกดินแดนมลายูให้อังกฤษนั้น จะทำให้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับดินแดนเหล่านี้ หมดไปโดยอัตโนมัติ จริงอยู่ การเสียดินแดนมลายูให้อังกฤษนั้น จะทำให้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับดินแดนเหล่านี้ หมดไปโดยอัตโนมัติ จริงอยู่   การเสียดินแดนถือเป็นการเสียเกียรติภูมิของชาติ แต่รัฐบาลไทย ควรจะนึกถึงความจริงที่ว่า ดินแดนเหล่านี้จะหลุดพ้น ไปจากอำนาจของไทยแน่ๆ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เพียงแต่ช้าหรือเร็วเท่านั้น และยิ่งนานวันไป ก็อาจจะสูญเสีย โดยไม่ได้รับอะไรตอบแทนเลย สโตรเบลใช้เหตุผลธรรมดาๆ ว่าเปรียบเสมือนคนที่เป็นโรคร้ายที่แขนขา ก็ควรจะตัดเนื้อร้ายออกไปเสีย ก่อนที่เชื่อโรคจะลุกลาม แพร่ไปตามส่วนอื่นของร่างกาย 
  ทันทีที่สโตรเบลทูลเสนอ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นชอบด้วย เพราะถ้าพูดกันโดยจริงๆ แล้ว พระองค์ไม่ได้ทรงเสียดาย ดินแดนเหล่านี้มากมายนัก ถ้าจะต้องทรงคิดอย่างหนัก ก็จะเห็นเป็นเพียงแต่ทรงเกรง "การเสียหน้า" เช่นเคยทรงปรารภว่า 
                ....... เราไม่มีความประสงค์อันใด นอกจากที่จะให้หัวเมืองมลายู เป็นพระราชอาณาเขตชั้นนอก ติดกับฝรั่ง อีกประการหนึ่ง เมืองเหล่านี้ปรากฏว่า อยู่ในเขตของไทยจะตกไป แต่อังกฤษเข้ามาบำรุงเรา ก็ไม่ขาดทุนอันใด ชั่วแต่ไม่ได้ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ไม่เป็นราคากี่มากน้อย แต่ยังรู้สึกว่าเป็นการเสียเกียรติยศอยู่..... 
  และได้ทรงชี้แจง ให้สโตรเบลทราบว่า สำหรับกลันตัน และตรังกานูนั้น ฉันไม่รู้สึกว่า มีผลประโยชน์อะไรด้วย ขอให้ท่านจัดการอะไร ไปตามความประสงค์ได้ 
  หลังจากข้อเสนอยกดินแดนมลายูดังกล่าว รัฐบาลสองประเทศ เริ่มเปิดเจรจากันอีกครั้ง และได้นำเรื่องต่างๆ ที่ยังเจรจาคั่งค้างอยู่ มาพิจารณาพร้อมกัน รวม เรื่อง คือ

  1. การโอนรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ให้อังกฤษ
  2. การยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของคนในบังคับอังกฤษในประเทศไทย
  3. การสร้างทางรถไฟสายใต้
  4. การยกเลิกปฏิญญาลับ ค.ศ.1897
  จุดใหญ่ของการเจรจา คือ การที่อังกฤษ ยอมยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ของคนในบังคับอังกฤษ เพื่อแลกกับรัฐมลายู ในอารักขาของไทย ต่างฝ่ายจึงต่างต้องการ ให้ได้ผลประโยชน์มากที่สุด ในเรื่องสิทธิสภาพ นอกอาณาเขตนั้น สโตรเบล เสนอให้จัดการกับคนในบังคับอังกฤษ ที่เป็นชาวเอเชีย ตามแบบที่ตกลงกับฝรั่งเศสใน พ.ศ.2440 คือ คนเอเชีย ที่จดทะเบียนหลังวันเซ็นสัญญา จะต้องขึ้นศาลไทย แต่ถ้าจดทะเบียนก่อน ก็จะขึ้นศาลต่างประเทศ และเมื่อไทย ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแล้ว คนในบังคับเหล่านี้ จะต้องขึ้นศาลไทยทั้งหมด และได้รับสิทธิต่างๆ เป็นการตอบแทน แต่การที่จะให้อังกฤษ ยินยอมเช่นนี้ มิใช่เป็นเรื่องง่าย เพราะอังกฤษ จะหมดอิทธิพลทางการเมือง ในบริเวณมลายู อีกประการหนึ่ง ถึงแม้ไทย จะเรียกร้องเอาเฉพาะคนในบังคับ ที่เป็นชาวเอเชียก็ตาม อังกฤษเอง ไม่ต้องการแบ่งแยกชาวยุโรป ออกจากชาวเอเชีย ซึ่งหมายความว่า คนในบังคับอังกฤษทั้งหมด ในประเทศไทย จะต้องขึ้นศาลไทย อังกฤษจึงพยายาม เรียกร้องดินแดน ตอบแทนให้คุ้มกับผลประโยชน์ ที่ตนต้องสูญเสีย ปัญหาเรื่องดินแดน จึงเป็นปัญหาที่รัฐบาลทั้งสองฝ่าย ต่อรองกันมาก 

             ข้อขัดแย้งที่ตกลงกันยาก คือ การที่จะกำหนดเขตแดนว่า ตรงไหนที่เป็นดินแดนในปกครองไทย และตรงไหนที่จะให้กับอังกฤษ ผู้เจรจาทั้งสองฝ่าย พยายามคำนึงถึงมูลฐาน ทางเชื้อชาติ และสภาพภูมิศาสตร์ แต่การพิจารณานั้น จะเป็นไปด้วยความยุติธรรมยาก เพราะผู้เจรจา ต่างต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ และเกียรติภูมิของชาติ ไปพร้อมๆ กัน ผู้แทนฝ่ายอังกฤษ คือนายราฟ แพชยิต กงสุลอังกฤษ ประจำประเทศไทย แสดงเจตจำนงอย่างชัดแจ้งว่า ปัตตานี ระแงะ และราห์มัน ไม่ควรจะเป็นของไทย เพราะภาษา ศาสนา ประเพณี และผู้คนแตกต่างกับไทย 

              อการแบ่งแยกดินแดน ระหว่างพวกที่นับถือมุสลิม และที่นับถือพุทธนี้ เป็นความใฝ่ฝัน ของข้าหลงวใหญ่อังกฤษ ประจำสิงคโปร์ มาหลายสมัยแล้ว นับตั้งแต่รัฟเฟิลส์ (Raffles) แบรดเดล (Braddell) เวล (Weld) สเวทเทนนั่ม (Swettenham) และโลว์ (Low) 
               ตลอดเวลาการเจรจา นายแพชยิตทราบดีว่า ถึงแม้ไทย ต้องการจะประนีประนอม กับอังกฤษเพียงไร แต่ไทยจะไม่ยอมยกดินแดน นอกเหนือไปจากที่เสนอ ให้อังกฤษอย่างแน่นอน สโตรเบลเอง ได้อธิบายให้อังกฤษทราบ ถึงเหตุผลข องการยอมเสียดินแดนไว้ ในตอนแรกว่า ไทยมีเหตุผลสองประการด้วยกัน

  1. ไทยจะยกดินแดนเฉพาะที่เห็นว่า อำนาจของไทยครอบคลุมไปไม่ถึงเท่านั้น
  2. การแบ่งเขตแดนนั้น จะถือเอาสภาวะการปกครองเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องภาษา ศาสนา หรือวัฒนธรรม
              ด้วยเหตุนี้ไทยจึงขอเสนอเพียง รัฐ ได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน และตรังกานูเท่านั้น อย่างไรก็ตาม นายแพชยิต ก็ยังมิได้สิ้นความพยายาม และพากเพียรเจรจาต่อรอง เพื่อให้ได้ดินแดนเพิ่มขึ้น มีหลายครั้งที่การเจรจาถึงขั้นแรง จนเกือบจะต้องยุติการเจรจาทั้งหมด นายแพชยิต พยายามเจรจากับสโตรเบล อย่างไม่เป็นทางการว่า รัฐบาลอังกฤษ ต้องการดินแดนปัตตานี ยะลา สตูล และปะลิสด้วย เพราะเห็นแก่มนุษยธรรม ของประชาชน ในดินแดนนั้น แต่สโตรเบล ได้ตอบโต้ด้วยปฏิกิริยา ที่มึนตึงมาก เช่นกล่าวว่า

            "ถ้าท่านต้องการดินแดน เหนือไปจากนี้ ก็ขอให้เลิกการเจรจาทั้งหมด ข้าพเจ้าเอง มีความยุ่งยากใจมากพอแล้ว ในการทูลเรื่องเมืองไทรบุรีต่อพระเจ้าอยู่หัว และข้าพเจ้าจะไม่ขอยุ่งเกี่ยวมากไปกว่านี้" 

            สำหรับสตูลและปัตตานีนั้น สโตรเบลชี้แจงว่ามีคนไทยอยู่ในสตูลมาก และไม่อาจจะแยกสตูลออกจากดินแดนไทยได้ ส่วนปัตตานีนั้นไม่อยู่ในประเด็นเลย เพราะคนไทยคงไม่ยอมแน่นอน 
              ในการเจรจาระยะต่อมา สโตรเบลแสดงทีท่ายินยอมให้ฝ่ายอังกฤษมากขึ้น เช่น ยอมยกเมืองปะลิสเพิ่มให้อีกหนึ่งเมือง สร้างความประหลาดใจ ให้แก่แพชยิตมาก สำหรับการยกเมืองปะลิส ให้อังกฤษนี้ ยังหาหลักฐาน ที่แน่นอนไม่ได้ว่า เป็นเพราะเหตุใด อาจจะพอสันนิษฐานได้ว่าสโตรเบลเห็นว่าไทย ไม่มีผลประโยชน์อะไรในปะลิสอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่ง ถ้าพิจารณาถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ และภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ปะลิสเป็นส่วนหนึ่งของไทรบุรีแน่นอน
         ไทยปฏิเสธเรื่องปัตตานีและยะลา ไปอย่างไม่มีเยื่อใยแล้ว แพชยิตก็หันไปเรียกร้องขอดินแดนอื่นอีก คือ ขอผนวกเมืองรามันห์ตอนใต้และเกาะลังกาวี แต่ยังยอมให้ไทยได้เกาะตะรุเตา และเกาะเล็กเกาะน้อยทางตะวันตกของลังกาวีไว้
         ระยะนั้น นายเวสเตนการ์ด เข้ามาดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน แทนนายสโตรเบล ซึ่งถึงอนิจกรรมที่กรุงเทพฯ โดยกะทันหัน เมื่อต้นปี พ.ศ.2450 เวสเตนการ์ด กลับเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอล่าสุด ของนายแพชยิต เรื่องนี้อาจจะมีเหตุผลสองประการ

  1. ความรู้สึกที่รุนแรงเรื่องเสียดินแดนของคนไทยคงจะลดน้อยลง หลังจากอสัญกรรมของสโตรเบล
  2. ไทยกำลังเจรจาเรื่องสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ - สิงคโปร์ กับรัฐบาลอังกฤษอยู่
            ฝ่ายไทยคงต้องการให้เรื่องสร้างทางรถไฟเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว จึงเสนอให้ราห์มันและเกาะลังกาวีแก่อังกฤษ โดยมีเงื่อนไขว่า อังกฤษจะต้องลดดอกเบี้ยเงินกู้ ที่จะกู้สร้างทางรถไฟ จากอัตราร้อยละ เหลือร้อยละ 3.75


   เมื่อประสบปัญหานี้ ทางฝ่ายรัฐบาลอังกฤษ กลับมีความเห็นแตกแยกออกเป็นสองพวก พวกแรกมีเซอร์ จอห์น แอนเดอร์สัน ข้าหลวงใหญ่ประจำสิงคโปร์ เป็นหัวหน้า พวกนี้เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง กับข้อเสนอของไทย เพราะเห็นว่า อัตราดอกเบี้ย ที่ลดลงร้อยละ ส่วนคุ้มค่ากับดินแดนราห์มัน และเกาะลังกาวี ที่อังกฤษจะได้ แต่เพื่อที่จะให้ได้ประโยชน์มากที่สุด แอนเดอร์สัน ขอระแงะ ซึ่งอยู่ติดกับกลันตันเพิ่มขึ้น แต่ฝ่ายนายแพชยิต กลับคัดค้านข้อเสนอนี้อย่างรุนแรง แพชยิตมองไม่เห็นว่า ดินแดนที่ไทยเสนอให้เพิ่มนี้ จะไปเกี่ยวข้องกันอย่างไร กับเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ สร้างทางรถไฟ เพราะเป็นปัญหาคนละประเด็น เขากลับเห็นว่า อังกฤษเสียสละให้ไทยหลายเรื่องแล้ว เช่น เรื่องการที่จะยอมให้คนในบังคับอังกฤษ มาขึ้นศาลไทยแทนศาลกงสุล และการที่อังกฤษ ยอมให้ไทย มีอำนาจสิทธิ์ขาด เหนือเส้นทางรถไฟ ฉะนั้น อังกฤษควรจะได้ราห์มัน และเกาะลังกาวีเพิ่มขึ้นเฉยๆ โดยไม่ต้องเสียอะไรเป็นการตอบแทนดอกเบี้ยเงินกู้ สร้างทางรถไฟจะต้องคงไว้ในอัตราร้อยละ เช่นเดิม แต่ให้ระงับข้อเรียกร้องขอระแงะ เพราะอาจจะทำให้ไทย ไม่พอใจและยุติการเจรจาได้ 

            รัฐบาลไทยยอมตกลง ตามข้อเสนอของแพชยิต ยกลังกาวีและราห์มันตอนใต้ให้อังกฤษ อาจจะเป็นไปได้ว่า รัฐบาลไทยได้พิจารณาเห็นว่า ข้อยินยอมต่างๆ ของอังกฤษนั้น คุ้มค่าต่อการตกลงกันโดยสันติ เป็นต้นว่า การยอมรับให้คนในบังคับอังกฤษทั่วประเทศไทย มาขึ้นตรงต่อศาลไทย การสร้างทางรถไฟทางใต้ จากเพชรบุรีลงไปจนจดชายแดนมลายู และที่สำคัญที่สุดคือ การเลิกสัญญาลับระหว่างไทย - อังกฤษ พ.ศ.2440เพราะตามสัญญานี้ ไทยยอมให้อังกฤษ มีสิทธิ์เหนือดินแดนทางใต้ จากตำบลบางตะพานลงไป จดสุดแหลมมลายู ซึ่งถ้าพิจารณา ในเชิงปฏิบัติ ไทยได้สูญเสียดินแดนทั้งหมดไปแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2440 ฉะนั้น ในวันที่ 10 มีนาคม 2451 กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีต่างประเทศของไทย และนายราฟ แพชยิต ราชทูตอังกฤษประจำกรุงเทพฯ ได้ลงนามในสนธิสัญญาฉบับใหม่ ซึ่งมีใจความสำคัญว่า

  1. รัฐบาลไทย ยอมยกสิทธิทางการปกครอง และการบังคับบัญชาเหนือดินแดนรับมลายู คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส รวมทั้งเกาะใกล้เคียง ให้แก่อังกฤษ
  2. การโอนดินแดนบริเวณนี้ จะจัดให้สำเร็จภายใน 30 วัน นับแต่ได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันกันแล้ว
  3. จัดตั้งคณะกรรมการ ทั้งฝ่ายอังกฤษและไทยภายในระยะ เดือน นับแต่ได้แลกเปลี่ยนสัตยาบัน เพื่อทำการปักปันเขตแดนกัน นอกจากนี้ คนในบังคับไทย ที่เคยอยู่อาศัยในดินแดนดังกล่าวแล้ว ถ้าต้องการเป็นคนไทยต่อไป ต้องย้ายกลับไปอยู่ในเขตไทยภายในเวลา เดือน และอังกฤษยอมรับว่า บุคคลเหล่านั้น ยังมีสิทธิเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ในดินแดนเหล่านั้นอยู่ หนังสืออนุญาตต่างๆ ที่ทางรัฐบาลไทยออกให้ไว้ก่อนวันเซ็นสัญญา อังกฤษก็ยังคงยอมรับิทธิอันนั้นต่อไป
  4. รัฐบาลอังกฤษยอมรับว่าหนี้สินที่รัฐต่างๆ นั้น มีอยู่ต่อรัฐบาลไทย รัฐบาลสหพันธรัฐมลายูจะชดใช้ให้แทน
  5. อำนาจศาลต่างประเทศฝ่ายไทย ตามข้อ ของหนังสือสัญญาปี ค.ศ.1883 จะยังคงใช้อยู่กับคนในบังคับอังกฤษ ที่เป็นชาวเอเชีย และจดทะเบียน ก่อนวันลงนามในสัญญา คือ คนเหล่านี้จะย้ายขึ้นศาลไทย มีตุลาการแล้วแต่ไทยจะแต่งตั้ง แต่ในเวลาพิจารณาคดี กงสุลอังกฤษต้องไปนั่งฟังอยู่ด้วย และในกรณี ที่คนในบังคับอังกฤษ เป็นจำเลย กงสุลอาจพิจารณา มีสิทธิถอนคดีได้ ส่วนคนในบังคับอื่นที่จดทะเบียน หลังวันลงนามในสัญญา จะอยู่ในอำนาจศาลไทย คนในบังคับเหล่านี้ จะเปลี่ยนไปใช้ศาลไทยทั้งหมด อย่างเต็มที่ เมื่อไทยมีประมวลกฎหมาย ลักษณะอาญา กฎหมายลักษณะแพ่งและการพาณิชย์ กฎหมายลักษณะวิธีพิจารณาคดี และกฎหมายลักษณะพระธรรมนูญจัดตั้งศาล
  6. คนในบังคับอังกฤษ จะได้กรรมสิทธิ์ เหมือนคนพื้นเมือง เช่น กรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่ต้องเสียภาษีอากรต่างๆ เหมือนคนไทย เว้นแต่ไม่ต้องการเป็นทหาร นอกจากนั้น ไทยยังทำสัญญาปักปันเขตแดน และสัญญาเรื่องอำนาจทางการศาล แยกเป็นพิเศษด้วย
             ในสัญญาฉบับนี้ มีภาคผนวก ว่าด้วยการเลิกปฏิญญาลับ ค.ศ.1897 และว่าด้วยการสร้างทางรถไฟสายใต้ โดยที่รัฐบาลอังกฤษให้เงินกู้ ในการก่อสร้าง ภายใต้เงื่อนไขว่า กรมรถไฟใต้ ในความควบคุมของชาวอังกฤษ จะต้องเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง 

             หลังการลงนาม แพชยิต เขียนไปรายงานเซอร์ เอ็ดเวิด เกรย์ (Sir Edward Grey) รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงการต่างประเทศ ฝ่ายรัฐสภาที่ลอนดอนว่า

              "ดินแดนที่เราได้ครั้งนี้ มีอาณาเขตกว้างขวาง อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรและประชากร เป็นดินแดนที่มีคุณค่า มากกว่ารัฐเขมร ที่ไทยเพิ่งยกให้แก่ฝรั่งเศส ในเร็วๆ นี้" และอีกตอนหนึ่ง 
            "บัดนี้ อาณาเขตของอังกฤษ ติดต่อกับสตูลทางตะวันตก อำเภอสายบุรีทางตะวันออก และเรากำลังสร้างทางรถไฟขึ้นไปทางเหนือรัฐมลายู แน่นอนเหลือเกินว่า หัวเมืองชายแดนไทย ซึ่งประกอบด้วยปัตตานี และระแงะ จะค่อยๆ ตกอยู่ใต้อิทธิพลอังกฤษ และอังกฤษ จะเข้าไปมีผลประโยชน์ ทางการค้าได้อย่างง่ายดาย" 
                การยกดินแดนมลายู ให้แก่อังกฤษนี้ ทางไทยไม่ได้แจ้งให้สุลต่าน เจ้าของรัฐเหล่านั้นทราบเลย ทำให้สุลต่านโกรธเคืองมาก ปรากฏว่า สุลต่านไทรบุรี เคยปรารภกับเอเธอร์ ซี. อดัมส์ ที่ปรึกษาทางการคลัง ประจำรัฐไทรบุรีว่า "ไทยมีสิทธิที่จะยกหนี้ไปให้ผู้อื่นได้ แต่ไม่มีสิทธิจะยกลูกหนี้ให้ใคร" และในตอนหนึ่ง ได้ปรารภว่า "ประเทศของฉัน ประชาชนของฉัน ถูกขายไปเหมือนกับขายลุกวัว ฉันให้อภัยคนซื้อ ซึ่งมี่พันธะกับฉันได้ แต่ฉันให้อภัยคนขายไม่ได้" อันที่จริง ระหว่างที่ไทย และอังกฤษ กำลังเจรจาปรึกษาเงื่อนไข สนธิสัญญาอยู่นั้น รัฐไทรบุรีได้ทราบข่าวมา แต่ไม่ชัดเจน จึงได้ส่งจดหมาย มาถามข้อเท็จจริง จากรัฐบาลไทยอีกทีหนึ่ง แต่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงนาพระทัยว่าจะทรงตอบเช่นไร 
            สุลต่านกลันตัน และสุลต่านตรังกานู ต่างมีปฏิกิริยาเช่นเดียวกัน คือคัดค้านการกระทำของไทย สุลต่านกลันตันส่งผู้แทนเข้ามาเจรจาที่กรุงเทพฯ และสุลต่านตรังกานู รีบยืนยันความจงรักภักดีของตนต่อเมืองไทย ด้วยการส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองมาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ไม่ปรากฏว่าไทยชี้แจงว่าอย่างไรเช่นกัน
          นอกเหนือจากปฏิกิริยาดังกล่าวของสุลต่าลแล้ว เหตุการณ์ทุกอย่างดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย สนธิสัญญา พ.ศ.2451 ได้เสริมสร้างให้สัมพันธภาพ ระหว่างไทยกับอังกฤษ กระชับแน่นแฟ้นขึ้น ประเทศไทยรอดพ้นจากอุปสรรคที่ขัดขวางความก้าวหน้า เป็นโอกาสให้คงอยู่รอดและไม่เป็นเมืองขึ้นของใคร มาจนบัดนี้

















































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น